วันพืชมงคล วันพืชมงคลตรงกับวันอะไรของทุกปี และสำคัญอย่างไร
วันพืชมงคล เป็นวันที่กำหนดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีเก่ามาแต่โบราณที่เสริมสร้างขวัญ และกำลังใจให้แก่เกษตรกรของชาติ ในประเทศไทย ซึ่งรวมไปถึงการระลึกถึง ความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย นับว่าเป็นอีกวันสำคัญของเกษตรกรไทย ในปีนี้ พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ วันพืชมงคล ภาษาอังกฤษ (Ploughing Ceremony) ตรงกับวันที่ 17 พฤษภาคม 2566 (แรม 13 ค่ำ เดือน 6) เป็นพิธีกรรมที่พบเห็นได้ในหลายประเทศทางแถบเอเชีย จัดขึ้นเพื่อเริ่มต้นฤดูการปลูกข้าวแบบดั้งเดิม
ในประเทศไทย ประวัติวันพืชมงคล ฤกษ์ดีพระโคเสี่ยงทายกินอะไรในวันพืชมงคล การแรกนาขวัญซึ่งกระทำโดยราชสำนักนั้น ประกอบด้วยพิธีสองอย่างตามลำดับ คือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีพุทธซึ่งตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ ซึ่งกระทำสืบเนื่องมาแต่สมัยสุโขทัย ปัจจุบัน เรียกวันแรกนาขวัญว่า วันพืชมงคล
ซึ่งจัดไม่ตรงกันทุกปีสุดแต่สำนักพระราชวังจะกำหนด วันพืชมงคลยังเป็น วันเกษตรกรไทย เพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรรมในเศรษฐกิจไทย วันพืชมงคล 2566 หยุดไหม และเป็นวันหยุดราชการด้วย แต่ไม่เป็นวันหยุดธนาคาร วันพืชมงคลโรงเรียนหยุดไหม พระราชพิธีพืชมงคลเป็นพิธีทางพุทธศาสนา มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกำหนดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี ฤกษ์ดีพระโคเสี่ยงทายกินอะไรในวันพืชมงคล ประวัติวันพืชมงคล
วันพืชมงคล ประวัติวันพืชมงคล เป็นวันสําคัญอะไร มีความเป็นมาอย่างไร
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธี ๒ พิธีรวมกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล อันเป็นพิธีสงฆ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีวันแรกในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กับ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ อันเป็นพิธีพราหมณ์ อย่างหนึ่ง ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลพิธีสนามหลวง พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธีที่มีมาแต่โบราณตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยกรุงสุโขทัยนั้น พระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ประวัติวันพืชมงคล
ครั้งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธาน เหมือนกับสมัยกรุงสุโขทัย และจะทรงจำศีลเงียบ 3 วัน แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้ เจ้าพระยาจันทกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์ โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการประกอบพระราชพิธีนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แต่ผู้ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพลเทพ คู่กันกับการยืนชิงช้า
แต่พอถึงรัชกาลที่ 3 ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนา ประวัติวันพืชมงคล ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ทุกพิธี ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคล จึงได้เริ่มมีขึ้น แต่บัดนั้นมา วันพืชมงคล 2566 สํานักพระราชวัง โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ฤกษ์ดีพระโคเสี่ยงทายกินอะไรในวันพืชมงคล
วันพืชมงคล พระโคแรกนาหมายถึงอะไร
พระโค ในทางศาสนาพรามหณ์ หมายถึง เทวดาผู้ทำหน้าที่เป็นพาหนะ ของพระอิศวรซึ่งเปรียบได้กับการใช้แรงงาน และความเข้มแข็ง และเป็นสัตว์เลี้ยงที่พระกฤษณะ และพระพลเทพดูแล ซึ่งเปรียบได้กับความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงได้กำหนดให้ใช้พระโคเพศผู้ เข้าร่วมพระราชพิธีเสมอมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เพื่อเป็นตัวแทนของความเข้มแข็ง และความอุดมสมบูรณ์ ประวัติวันพืชมงคล
ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ฤกษ์ดีพระโคเสี่ยงทายกินอะไรในวันพืชมงคล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมาย ให้กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานดำเนินการคัดเลือกโค เพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โดยศูนย์วิจัยการผสมเทียม และเทคโนโลยีชีวภาพราชบุรี สังกัดสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์จะดำเนินการคัดเลือกโค เพื่อเป็นพระโคตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ จะต้องเป็นโคที่มีลักษณะดี รูปร่างสมบูรณ์ มีความสูงไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เซนติเมตร ความยาวลำตัวไม่น้อยกว่า ๑๒๐ เซนติเมตร
ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า ๑๘๐ เซนติเมตร โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกัน ผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่าย สอนง่ายไม่ดุร้าย เขาลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงามดี มีขวัญหน้า ขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา และขวัญหลังถูกต้อง มีขาและกีบข้อเท้าแข็งแรง มองดูด้านข้างลำตัวจะเป็นสี่เหลี่ยม ฤกษ์ดีพระโคเสี่ยงทายกินอะไรในวันพืชมงคล
ในปี ๒๕๖๖ กรมปศุสัตว์ ได้ทำการคัดเลือกพระโคเพื่อใช้ในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จำนวน ๒ คู่ คือ
- พระโคแรกนาขวัญ ๑ คู่ ได้แก่ พระโคพอ พระโคเพียง
- พระโคสำรอง ๑ คู่ ได้แก่ พระโคเพิ่ม พระโคพูล
อาหารของพระโคและ การเสี่ยงทายของพระโคในปีนี้
ในพิธีแรกนาขวัญ วันพืชมงคล 66 ฤกษ์ดีพระโคเสี่ยงทายกินอะไรในวันพืชมงคล พระโคกินหญ้า ทำนายว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร(เนื้อสัตว์) จะอุดมสมบูรณ์ และพระโคกินเหล้า ทำนายว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขาย กับต่างประเทศจะดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้พระโคหยิบได้ผ้าห้าคืบ พยากรณ์ว่า น้ำสำหรับปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี ประวัติวันพืชมงคล
ซึ่งการเสี่ยงทายในพระราชพิธีนังคัลแรกนาขวัญ ฤกษ์ดีพระโคเสี่ยงทายกินอะไรในวันพืชมงคล จะเกิดขึ้นหลังจากที่พระยาแรกนาหว่านพันธุ์ข้าวและไถกลบครบ 3 รอบ จากนั้นจะนำอาหารที่ใช้เสี่ยงทาย 7 สิ่ง ใส่ในกระทงแล้ววางบนถาด
โดยของกิน 7 สิ่ง ที่ตั้งเลี้ยงพระโคนั้น มี ข้าว ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้น
1) ถ้าพระโคกินข้าว หรือ ข้าวโพด ทำนายว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี
2) ถ้าพระโคกินถั่ว หรือ งา ทำนายว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
3) ถ้าพระโคกินน้ำ หรือ หญ้า ทำนายว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร(เนื้อสัตว์) จะอุดมสมบูรณ์
4) ถ้าพระโคกิน เหล้า ทำนายว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขาย กับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
การตั้งสัตยาธิษฐานหยิบผ้านุ่งแต่งกาย (การเสี่ยงทายผ้านุ่ง)
“ผ้านุ่งแต่งกาย” คือผ้านุ่งซึ่งเป็นผ้าลาย มีด้วยกัน ๓ ผืนคือ สี่คืบ ห้าคืบ และหกคืบวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุมเพื่อให้พระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบ หากหยิบได้ผ้าผืนใด ให้นุ่งผืนนั้นทับผ้านุ่งผืนเดิมอีกชั้นหนึ่งเพื่อเตรียมออกแรกนา โดยผ้านุ่งนี้ ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้นคือ
- ถ้าหยิบผ้าได้ ๔ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่
- ถ้าหยิบได้ผ้า ๕ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำในปีนี้จะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ และผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
- ถ้าหยิบได้ผ้า ๖ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอน จะเสียหายบ้าง ได้ผลไม่เต็มที่
พันธุ์ข้าวที่แจกในพิธีพืชมงคล
กรมการข้าวกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทานที่ทรงปลูก ทั้งหมด 6 พันธุ์ จำนวน 2,244 กิโลกรัม เข้าในการพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และแจกจ่ายให้พี่น้องประชาชน ประวัติวันพืชมงคล ฤกษ์ดีพระโคเสี่ยงทายกินอะไรในวันพืชมงคล
สำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน 6 พันธุ์ ประกอบด้วย
1.ขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวเจ้าที่ทนแล้งได้ดีพอสมควร ทนต่อสภาพดินเปรี้ยวและดินเค็ม
2.ปทุมธานี 1 เป็นข้าวเจ้าผลผลิตสูง ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขาว ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง
3.กข43 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
4.กข85 เป็นข้าวเจ้าพื้นแข็ง ปลูกได้ทั้งนาปี และนาปรัง ทนต่อสภาพอากาศเย็น ให้ผลผลิตสูง
5.กข87 เป็นพันธุ์ข้าวประเภทพื้นนุ่ม เมล็ดทางกายภาพดี คุณภาพการสีดีมาก เหมาะปลูกในพื้นที่นาชลประทานภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง
6.กข6 เป็นข้าวเหนียวให้ผลผลิตสูงและทนแล้งดีกว่าพันธุ์เหนียวสันป่าตอง ต้านทานโรคใบจุดสีน้ำตาล
Sources : wikipedia, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อ่านต่อ>>>สถิติหวยวันพฤหัส