ศาลหลักเมือง ประวัติความเป็นมาศาลหลักเมืองกรุงเทพและการ ไปศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมือง มีอยู่ตามจังหวัดที่คุณอาศัยอยู่ หากอยู่ในจังหวัดไหน ก็คววรที่จะไปไหว้สักการะในจังหวัดนั้น เพราะจะเกิดเป็นหลักชัยให้กับชีวิต และช่วยเสริมความเป็นสิริมงคล อีกทั้งยังช่วยให้มีความมั่นคงด้านการงาน ขออะไรก็จะสมหวังดั่งปรารถนา ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานครตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไปศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ถูกสร้างขึ้นเมื่อมีการสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธียกเสาหลักเมืองขึ้น ตามธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ว่า ก่อนที่จะมีการสร้างเมือง ควรที่จะต้องทำพิธี ยกเสาหลักเมืองในสถานที่ อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น
ซึ่งเสาหลักนั้นทำจากไม้ชัยพฤกษ์ มีไม้แก่นจันทร์ประกับนอก ยอดเสารูปบัวตูม เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๑ เมษายน ๒๓๒๕ ณ ชัยภูมิใจกลางพระนครใหม่ ที่พระราชทานนามว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” หรือเรียกต่อกันมาว่า “กรุงเทพมหานคร” สถิตสถาพรเป็นมิ่งขวัญประชาชนชาวไทย จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา เสาหลักเมือง ต้นใหม่ แทนต้นเดิมที่ชำรุดไปตามกาลเวลา
ศาลหลักเมือง เสาหลักเมืองกรุงเทพมหานครทำไมมี 2 ต้น
เสาที่สร้างใหม่นั้นเป็นเสา ไม้สักเป็นแกนอยู่ภายในประกับด้วย ไม้ชัยพฤกษ์ยอดเม็ดทรงมัณฑ์ และผูกดวงชาตาพระนครขึ้นใหม่ เพื่อให้ประเทศชาติ และประชาชนชาวไทยทั้งหลาย ที่อยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ประสบความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาถาวรยิ่งขึ้น ศาลหลักเมืองกรุงเทพ เสริมสิริมงคลความรุ่งเรืองไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพ ไปศาลหลักเมือง
ตามปกติแล้วเสาหลักเมืองตามเมือง หรือตามจังหวัดต่างๆ จะมีเพียงต้นเดียว ซึ่งเสาหลักเมืองของกรุงเทพมหานครในตอนสร้างครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2325 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ก็มีเพียงต้นเดียว
แต่เมื่อมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้โปรดให้มีการซ่อมแซมเสาหลักเมืองเดิม และเพิ่มเสาหลักเมืองใหม่ลงไปอีก 1 ต้น เนื่องจากในรัชสมัยของพระองค์นั้นมีพระมาหากษัตริย์ปกครองแผ่นดิน 2 พระองค์ คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวอีก 1 พระองค์ เมื่อมีพระเจ้าแผ่นดิน 2 พระองค์ เสาหลักเมืองจึงต้องมี 2 ต้นเพื่อช่วยกันค้ำจุนแผ่นดินนั่นเอง
ศาลหลักเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๕
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนิน ณ ศาลหลักเมือง ในพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่มหานครตามโบราณราชประเพณี และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการดำเนินการปรับปรุง ศาลหลักเมืองให้มีความงดงามบริบูรณ์ สมกับเป็นที่สถิตแห่งองค์พระหลักเมือง และให้เชิญเสาหลักเมืองต้นเดิม ไปประดิษฐานไว้คู่กับ เสาหลักเมืองต้นปัจจุบัน ไปศาลหลักเมือง
เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จสมบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีสมโภชพระหลักเมือง ณ วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๒๙ ในการนี้คณะกรรมการ ดำเนินการปรับปรุงศาลหลักเมือง ได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ การดำเนินงานปรับปรุงศาลหลักเมือง ศาลหลักเมือง ประวัติ รวมทั้งได้สร้างศาลเทพารักษ์ เพื่อเป็นที่สถิตแห่งเทพารักษ์ทั้ง ๕ ได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลอง และอาคารหอพระพุทธรูปขึ้นอีกด้วย เสริมสิริมงคลความรุ่งเรืองไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพ
ศาลหลักเมือง มีพื้นที่อยู่ในอาณาบริเวณของกระทรวงกลาโหม โดยเริ่มแรกในปี 2480 กระทรวงกลาโหมได้มอบหมาย ให้กรมเชื้อเพลิงเป็นผู้ดูแล เมื่อกรมเชื้อเพลิงถูกยุบ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ กระทรวงกลาโหมจึงมอบให้ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นผู้ดูแลตั้งแต่ปี ๒๔๙๑ โดยองค์การฯ ได้กำหนดให้สำนักงานกิจการ ศาลหลักเมือง ซึ่งเป็นหน่วยงานกิจการพิเศษขององค์การฯ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบศาลหลักเมือง
รวมทั้งอาคาร และบริเวณอันเป็นสถานที่สำคัญของชาติ การบูรณปฏิสังขรณ์ ดำเนินกิจการเพื่อให้บริการแก่ประชาชนผู้มาสักการะ และเก็บรักษาผลประโยชน์จากการนั้น สนับสนุนกิจการขององค์การฯ ตลอดจนร่วมสาธารณะกุศลอื่น ๆ มีผู้อำนวยการสำนักงานกิจการศาลหลักเมือง เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ และผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นประธานกรรมการบริหาร สำนักงานกิจการศาลหลักเมือง
ศาลหลักเมืองขอพรเรื่องอะไร วิธีไหว้ต้องไหว้อย่างไร
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ไปศาลหลักเมือง แล้วต้องขอเกี่ยวกับเรื่องอะไร ทำอย่างไรถึงจะไหว้อย่างถูกวิธี ขอพรตามความเชื่อเพื่อเสริมดวง ให้ผู้ไหว้นั้นมีความเจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาดปลอดภัย และมีโชคลาภ เพิ่มความปังให้กับชีวิต เสริมสิริมงคลความรุ่งเรืองไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพ ด้วยความเชื่อ การสร้างเสาหลักเมืองเชื่อว่า จะทำให้บ้านเมืองนั้น มีความร่มเย็นเป็นสุขความศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ ไปศาลหลักเมือง ศาลหลักเมืองย่อมไม่มีข้อสงสัย
วิธีการไหว้ขอพร ศาลหลักเมืองอย่างถูกต้อง ไปศาลหลักเมือง โดยเฉพาะศาลหลักเมืองในกรุงเทพ เสริมสิริมงคลความรุ่งเรืองไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพ เรามีที่ข้อควรรู้ การตั้งเสาหลักเมืองในประเทศไทยนั้นมีการตั้งเสาหลักเมืองทุกจังหวัด ทำให้มีศาลหลักเมืองทุกจังหวัดเช่นกัน ศาลหลักเมือง ความเชื่อ
ขั้นตอนการไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
การไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ ไปศาลหลักเมือง นั้นสามารถไหว้ตามขั้นตอนให้ครบ หรือจะไหว้โดยไม่ครบขั้นตอนก็ได้ ขอเพียงแค่มีจิตใจที่เคารพ แต่ถ้ามีเวลา และต้องการทำให้ถูกต้องตามพิธีการไหว้ศาลหลักเมืองนั้นก็สามารถทำได้ ลองมาดูกันว่าขั้นตอนที่ถูกต้องในการไหว้ศาลหลักเมืองนั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เสริมสิริมงคลความรุ่งเรืองไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพ
◾ สิ่งของที่ต้องเตรียม การไหว้ศาลหลักเมืองนั้นมีสิ่งของต่างๆ ที่ต้องเตรียมดังต่อไปนี้ ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ทองคำเปลว ดอกบัว 2 ดอก ผ้าแพร 3 สี / 5สี / 7 สี ตามแต่ความเหมาะสม พวงมาลัย 2 พวง เสริมสิริมงคลความรุ่งเรืองไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพ
◾ หอพระพุทธรูป ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ นั้นจะมีสถานที่สักการะอยู่ 5 ที่ โดยสถานที่ซึ่งต้องไหว้เป็นอันดับแรกคือหอพระพุทธรูป เพราะตามความเชื่อในการกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของคนไทยจะเริ่มด้วยการไหว้พระเป็นอันดับแรกเสมอ เมื่อไหว้พระในหอพระพุทธรูปเรียบร้อยแล้ว ยังสามารถใส่บาตรพระประจำวันเกิดซึ่งถือว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์ เสริมดวงชะตาอีกด้วย
◾ องค์หลักเมืองจำลอง สถานที่สักการะแห่งที่สองที่ต้องไปไหว้คือองค์หลักเมืองจำลอง โดยให้จุดธูปเทียน กล่าวคำบูชาองค์พระหลักเมืองตามบทสวดดังต่อไปนี้ “ศรีโรเม เทพเทวานัง พระหลักเมืองเทวานัง พระภูมิเทวานัง ทีปธูปจะบุปผัง สักการะวันทนัง สูปพยัญชนะ สัมปันนัง สารีนัง อุททะกัง วะรัง เตปิตุมเห อานุรักษ์ขันตุ อาโรขเยนะ สุเขนะจะ” เมื่อกล่าวคำบูชาเสร็จให้ทำการขอพร จากนั้นก็ปิดทอง และผูกผ้าแพรที่เสาหลักเมืองจำลองหลักใดหลักหนึ่ง
◾ องค์หลักเมืองจริง เมื่อไหว้องค์หลักเมืองจำลองเรียบร้อยแล้ว ก็ให้มาไหว้องค์หลักเมืองจริงต่อ โดยให้กล่าวคำบูชาองค์หลักเมืองด้วยบทเดียวกันกับที่กล่าวบูชาองค์หลักเมืองจำลอง เมื่อกล่าวจบแล้วให้ขอพร และถวายพวงมาลัยแก่องค์หลักเมือง วิธีไหว้ศาลหลักเมือง เสริมสิริมงคลความรุ่งเรืองไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพ
◾ หอเทพารักษ์ทั้ง 5 หอเทพารักษ์ทั้ง 5 นั้นคือที่สถิตของเทพารักษ์ที่ปกป้องบ้านเมือง ซึ่งเทพารักษ์ที่สถิตอยู่ในหอนี้ประกอบด้วย พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าเจตคุปต์ พระกาฬไชยศรี เจ้าหอกลอง ซึ่งเทพารักษ์ทั้ง 5 จะช่วยปกป้องทั้งในด้านการเมือง การปกครอง ปกป้องบ้านเมืองจากศัตรูต่างๆ ปกป้องบ้านเมืองจากเหตุเภทภัยอันตราย และช่วยให้บ้านเมืองมีความสงบร่มเย็น
◾เติมน้ำมันตะเกียง การเติมน้ำมันตะเกียงนั้นถือว่าเป็นขั้นตอนการสุดท้ายในการไหว้ศาลหลักเมืองให้ครบทั้ง 5 ขั้นตอน โดยการเติมน้ำมันตะเกียงพระประจำวันเกิดนั้นให้เติมเกินครึ่งขวดเนื่องจากมีความเชื่อว่าจะช่วยให้ชีวิตสว่างไสว มีความเจริญรุ่งเรือง ส่วนน้ำมันที่เหลือให้นำไปเติมในตะเกียงสะเดาะเคราะห์เพื่อให้สิ่งเลวร้ายออกไป เกิดแต่ความโชคดีในชีวิต
ข้อดี ของการไหว้ศาลหลักเมือง
การสักการะสิ่งศักดิ์สำคัญประจำเมืองอย่างเช่นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ภายในบริเวณศาลหลักเมือง และสักการะเสาหลักเมืองนั้นถ้าเป็นผู้ที่มีความเคารพ และศรัทธาแล้วนั้นจะส่งผลดีต่างๆ ให้กับชีวิตอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความมั่นคงในชีวิต ความมั่นคงในหน้าที่การงาน ความเป็นสิริมงคลในชีวิต ที่สำคัญคือเป็นการสร้างกำลังใจให้แก่ตัวผู้ไหว้ ทำให้มีพลังในการเผชิญอุปสรรคต่างๆ อย่างมีสติ แก้บนศาลหลักเมือง
การไหว้ศาลหลักเมืองในที่ต่างๆ รวมไปถึงการไหว้ศาลหลักเมืองในกรุงเทพมหานครนั้นอาจจะมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไปบ้าง ดังนั้นก่อนไหว้จึงควรสอบถามผู้ดูสถานที่ถึงวิธีการไหว้ที่ถูกต้อง เสริมสิริมงคลความรุ่งเรืองไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพ แต่สำหรับการไหว้ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ นั้นในบทความนี้แนะนำถึงขั้นตอนต่างๆ เพื่อที่จะได้ไหว้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงประวัติความเป็นมา และความสำคัญของศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ ไว้ให้อย่างครบถ้วนแล้ว
ไปศาลหลักเมือง เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 06.30 – 18.30 น.
อ่านต่อ>>>ประวัติเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ย